การลดต้นทุนการผลิตข้าว (หว่านข้าวไล่น้ำ)
ของนายทวีโชค เม้นกำเนิด โทร. 08-4688-2285 เกษตรกรตำบลบ้านใหม่สุขเกษม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยวันที่ 18 ธันวาคม 2550
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลบ้านใหม่สุขเกษม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ของชุมชน โดยเกษตรกรเรียนรู้ร่วมกัน การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ที่เกษตรกรร่วมแลกเปลี่ยนจำนวน 4 ราย คือ นายชาญชัย สโรดม , นายโอน คงคาลัย , นายเชิญ มีความสุข และนายทวีโชค เม้นกำเนิด ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ถอดประสบการณ์ร่วมกับ นายนพนม จิตงามขำ , นายสำราญ วงศ์ทิพย์ ,นางยุพาภรณ์ นาคแท้ และนางสมบัติ สุวนานนท์ รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมมีดังต่อไปนี้
1. การนำเข้าสู่บทเรียน
นายพนม จิตงามขำ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นำเข้าสู่บทเรียนโดยกล่าวสรุปว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำนำหว่านน้ำตมในเขตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยให้ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเข้าใจถึงกระบวนการถอดประสบการณ์จากนั้นพร้อมให้ นายสำราญ วงศ์ทิพย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว ทำหน้าที่ถอดประสบการณ์จากเกษตรกรโดนการซักถาม
2. ถอดประสบการณ์การลดต้นทุนการผลิตข้าว
โดยการหว่านข้าวไล่น้ำ ของนายทวีโชค เม้นกำเนิด
- ทำนาหว่านทั้งหมด 60 ไร่
- น้ำท่วมประมาณเดือน สิงหาคม – กันยายน ของทุกปี
- เริ่มหว่านข้าวไล่น้ำหลังน้ำลดประมาณเดือนตุลาคม
- บริเวณพื้นที่นาที่น้ำท่วม ข้าวหรือวัชพืชจะต้องเน่าเปื่อยหมดแล้ว และพื้นที่ราบเรียบ สามารถหว่านข้าวได้เลย
- ไม่ต้องไถนา
- ไม่ต้องทำเทือก
- หอยเชอรรี่ไม่มีหรือมีน้อยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันกำจัด
- ไม่เสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการสูบน้ำในช่วงไถนา
- ส่วนการปฏิบัติ อื่น ๆ ทำเหมือนกันทุกประการ
3. การเรียนรู้หลังการจัดกระบวนการถอดประสบการณ์
ความคิดเห็นจากเกษตรกร
- ราคาผลผลิตข้าวตกต่ำ
- ต้นทุนการผลิตสูง
- พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก
- การหว่านข้าวแบบไล่น้ำช่วยลดต้นการผลิต
- ลดค่าใช้จ่ายประมาณ 400 บาท/ไร่
ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่
- ในการทำนาหว่านน้ำตมของตำบลบ้านใหม่สุขเกษม มีต้นทุนการผลิตสูง
- พื้นที่นาของตำบลบ้านใหม่สุขเกษมมีน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี
- นำประสบการณ์การทำนาหว่านแบบไล่น้ำเผยแพร่ให้เกษตรกรที่มีพื้นที่น้ำท่วมขังซ้ำซากทราบและนำไปปฏิบัติ
- สามารถลดต้นทุนการผลิตได้
(นายพนม จิตงามขำ - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว 19 ธันวาคม 2550)
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลบ้านใหม่สุขเกษม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ของชุมชน โดยเกษตรกรเรียนรู้ร่วมกัน การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ที่เกษตรกรร่วมแลกเปลี่ยนจำนวน 4 ราย คือ นายชาญชัย สโรดม , นายโอน คงคาลัย , นายเชิญ มีความสุข และนายทวีโชค เม้นกำเนิด ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ถอดประสบการณ์ร่วมกับ นายนพนม จิตงามขำ , นายสำราญ วงศ์ทิพย์ ,นางยุพาภรณ์ นาคแท้ และนางสมบัติ สุวนานนท์ รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมมีดังต่อไปนี้
1. การนำเข้าสู่บทเรียน
นายพนม จิตงามขำ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นำเข้าสู่บทเรียนโดยกล่าวสรุปว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำนำหว่านน้ำตมในเขตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยให้ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเข้าใจถึงกระบวนการถอดประสบการณ์จากนั้นพร้อมให้ นายสำราญ วงศ์ทิพย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว ทำหน้าที่ถอดประสบการณ์จากเกษตรกรโดนการซักถาม
2. ถอดประสบการณ์การลดต้นทุนการผลิตข้าว
โดยการหว่านข้าวไล่น้ำ ของนายทวีโชค เม้นกำเนิด
- ทำนาหว่านทั้งหมด 60 ไร่
- น้ำท่วมประมาณเดือน สิงหาคม – กันยายน ของทุกปี
- เริ่มหว่านข้าวไล่น้ำหลังน้ำลดประมาณเดือนตุลาคม
- บริเวณพื้นที่นาที่น้ำท่วม ข้าวหรือวัชพืชจะต้องเน่าเปื่อยหมดแล้ว และพื้นที่ราบเรียบ สามารถหว่านข้าวได้เลย
- ไม่ต้องไถนา
- ไม่ต้องทำเทือก
- หอยเชอรรี่ไม่มีหรือมีน้อยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันกำจัด
- ไม่เสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการสูบน้ำในช่วงไถนา
- ส่วนการปฏิบัติ อื่น ๆ ทำเหมือนกันทุกประการ
3. การเรียนรู้หลังการจัดกระบวนการถอดประสบการณ์
ความคิดเห็นจากเกษตรกร
- ราคาผลผลิตข้าวตกต่ำ
- ต้นทุนการผลิตสูง
- พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก
- การหว่านข้าวแบบไล่น้ำช่วยลดต้นการผลิต
- ลดค่าใช้จ่ายประมาณ 400 บาท/ไร่
ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่
- ในการทำนาหว่านน้ำตมของตำบลบ้านใหม่สุขเกษม มีต้นทุนการผลิตสูง
- พื้นที่นาของตำบลบ้านใหม่สุขเกษมมีน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี
- นำประสบการณ์การทำนาหว่านแบบไล่น้ำเผยแพร่ให้เกษตรกรที่มีพื้นที่น้ำท่วมขังซ้ำซากทราบและนำไปปฏิบัติ
- สามารถลดต้นทุนการผลิตได้
(นายพนม จิตงามขำ - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว 19 ธันวาคม 2550)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง