การผลิตข้าวโดยการตัดตอซังข้าว

ของนายยอด ฝ้ายเทศ  โทร.0865895610 เกษตรตำบลกกแรต  อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยวันที่ 17 ธันวาคม 2550 เวลา 10.00 น.

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตำบลกกแรต ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ของชุมชนโดยเกษตรกรเรียนรู้ร่วมกัน  จึ่งเป็นโอกาสดีที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลจะได้จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับชุมชนในครั้งนี้ มีเกษตรกรร่วมแลกเปลี่ยน  จำนวน 6 นาย  คือ  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนายชิน  อินทรพุก  และนายอินทร์   เปลี่ยนดี   ซึ่งก็เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเหมือนกันและมีเกษตรกรอื่น ๆ เช่น  นายวิสุทธิ์  หวังเกตุ , นายวงค์  คงอิ่ม และนางสีชมพู  หาญชำนิ   เกษตรกรเจ้าของแปลงเรียนรู้การเกษตรพอเพียงสุดท้าย คือ นายยอด  ฝ้ายเทศ  เป็นเกษตรกรผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ถอดประสบการณ์การทำนาข้าวแบบตัดตอซัง  เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต  นอกจากนี้ยังมีคุณพนม  จิตงามขำ  , คุณสมบัติ  สุวนานนท์ และคุณยุพาภรณ์   นาคแท้  ซึ่งเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่มาจากสำนักงานเกษตรอำเภอกงไกรลาศ  โดยได้มีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1 การนำเข้าสู่บทเรียน
นายสำราญ  วงศ์ทิพย์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว  นำเข้าสู่บทเรียนโดยกล่าว สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อครั้งก่อนได้แก่ การจัดศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  การใช้สารชีวภาพและการจัดการแปลงของนายสีชมพู  หาญชำนิ  ให้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเข้าใจถึงกระบวนการในการถอดประสบการณ์จากนั้น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรคุณพนม  จิตงามขำ ทำหน้าที่ถอดประสบการณ์จากเกษตรกรโดยการซักถาม

ขั้นที่ 2  ถอดประสบการณ์การลดต้นทุนการผลิตข้าวโดยการตัดตอซังข้าวของ
นายยอดฝ้ายเทศ
-  พื้นที่ปลูกข้าว 28 ไร่  ใช้ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
-  ทำการเพาะปลูกช่วงเดือนกรกฎาคม เก็บเกี่ยววันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
-  การตัดตอซัง หลักการเก็บเกี่ยวข้าว
-  ให้น้ำเพื่อเลี้ยงตอข้าวให้แตกหน่อ
-  ภายใน 15 วันจึงใส่ปุ๋ยยูเรียนสูตร 46-0-0  ในอัตราเฉลี่ย 5 กิโลกรัม/ไร่
-  การดูแลรักษา ให้น้ำให้ปุ๋ยแล้วก็ฉีดพ่นสารสกัดชีวภาพ 2ครั้ง ๆ ละ 10 ลิตร
-  การเก็บเกี่ยวนา 28 ไร่ ได้ผลผลิตข้าว 19 เกวียน ลงทุนไปทั้งหมด 2,500 ขายผลผลิตได้เกวียนละ 6,000 บาท
-  ค่ารถเกี่ยวไร่ละ 400 บาทรวมลงทุนทั้งหมด  13,700 บาท

ขั้นที่ 3  การเรียนรู้หลักการจัดกระบวนการ
ความคิดเห็นจากเกษตรกร
1.  ควรมีการอัดฟางแห้งในแปลงนาก่อนตัดตอซังข้าว มิเช่นนั้นเวลาเกี่ยวข้าวสิ่งเจือปนจะติดไปกับข้าว ทำให้โรงสีกดราคาได้
2.  การตัดตอต้นข้าวจะห่างเพราะเวลาเกี่ยวจะต้องใช้รถเกี่ยว ฉะนั้นจึงเกิดการเหยียบย่ำของรถเกี่ยวทำให้เกิดการเสียหายและข้าวจะไม่ขึ้นจึงเป็นเหตุ ทำให้ผลผลิตลดลงส่วนหนึ่ง
3.  พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก
4.  ราคาผลผลิตข้าวตกต่ำ
5.  ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น

ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่
 
1.  การทำนามีการลงทุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่สูง
2.  การตัดตอซังข้าวจึงเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
3.  ไม่เสี่ยงต่อการลงทุนแบบเต็มรูปแบบเพราะพื้นที่เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก
4.  เผยแพร่การทำนาแบบตัดตอซังเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตต่อไป
5.  ควรมีการหว่าน ซ้อมบางจุดที่มีการเหยียบย้ำข้าวเสียหาย เพื่อเติมเต็มให้กับพื้นที่ปลูกข้าว
6.  ก่อนเกี่ยวข้าวควรงดการให้น้ำ เพื่อพื้นที่นาจะได้แห้งรถเกี่ยวจะได้ไม่เหยียบต้นข้าวเสียหายก่อนตัดตอซังข้าว
7.  ไม่เสียค่าไถนา ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าหอยเชอรี่
8.  ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าฉีดพ่นสารเคมี
9.  พื้นที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมทุกปี ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึง กันยายนของทุกปี

(นายสำราญ วงศ์ทิพย์ - 
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานเกษตรอำเภอกงไกรลาศ
เบอร์โทรศัพท์: 055-691-247 เบอร์แฟกซ์: ---
หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกร่าง กงไกรลาศ สุโขทัย ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay