การผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดงเดือย  ได้ดำเนินการจัดทำองค์ความรู้  เพื่อพูดคุยแนะนำความรู้เพื่อทำข้อมูลมาเผยแพร่ให้แก่เกษตรกร ผู้สนใจต่อไป

โดยมีผู้เข้าร่วมจัดทำองค์ความรู้ ดังนี้  นายสมเกียรติ  จันโท,นางพิกุล  สุวนานนท์ ดำเนินการในพื้นที่ของนายนายสมเกียรติ  จันโท โดยมอบหมายให้นางสมบัติ  สุวนานนท์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดความรู้  ดังนี้

ก๊าซชีวภาพ  คือ ก๊าซที่เกิดจากมูลสัตว์หรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ ถูกย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ในสภาพไม่มีอากาศทำให้เกิดก๊าซขึ้นซึ่งก๊าซที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซที่ผสมกันระหว่างก๊าซชนิดต่าง ๆ  ได้แก่ มีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซไฮโดรเจนซัลไนด์  แต่ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก  ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้

บ่อก๊าซชีวภาพ สามารถใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์  ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม แล้วยังได้ก๊าซชีวภาพมาเป็นแหล่งพลังงานในการหุงต้มและให้แสงสว่างในครัวเรือน  ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง  บ่อแก๊สชีวภาพยังให้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลิตพืชได้อีกด้วย หรือนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพใช้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์กับพืชมากขึ้น

ขั้นตอนการผลิตก๊าซชีวภาพ
1. เลือกพื้นที่ไม่ห่างจากคอกสัตว์มากเกินไป  ห่างจากครัวเรือนไม่เกิน 50 เมตร  น้ำท่วมไม่ถึง
2. ขุดบ่อหมักลึก 1.5 เมตร ก้นบ่อเป็นแอ่งกระทะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร เทพื้นบ่อด้วยปูนคอนกรีตผลม 1: 2 : 3 แล้วใช้อิฐมอญเทรอบบ่อขึ้นสูง 40 เซนติเมตรวางท่อคอนกรีต ขนาด 8 นิ้ว ยาว 1 เมตรให้เอียง 60 องศา ทั้งสองด้านให้อยู่ตรงกันข้าม เพื่อต่อไปยังบ่อเดิมและบ่อล้นก่ออิฐมอญต่อขึ้นอีก 60 เซนติเมตร ฉาบผิวด้วยปูนซิเมน ทำบ่อล้นให้ห่างจากบ่อหมัก 50 ซม. ก่ออิฐมอญให้รอบบ่อหมัก ด้านหนึ่งของปลายท่อติดคอกสัตว์ทำบ่อเดิมด้วยบล็อกขนาด 50x30ซม.
3. ก่อบ่อหมักต่อจาก 60 เซนติเมตร ก่อให้โค้งขึ้น(เหมือนทำโอ่งน้ำ)ให้เหลือไว้ปากบ่อประมาณ90 ซม. ค่อย ๆ ก่อปากบ่อขึ้นให้ปูนแห้ง
4. ใช้กะละมัง ขนาด 60 ซม. ทำปากบ่อ และนำฝาปิดบ่อ ใช้กะละมังใบเดิมใส่ปูน ใส่ท่อน้ำขนาด4 หุน ยาว 50 ซม. ไว้ตรงกลาง พร้อมติดตัวปิดเปิดไว้ที่ฝาบ่อด้วย
5. ตัดแต่งปากบ่อให้เรียบนำฝานี้ทำไว้มาปิดยาแนวด้วยดินเหนียวละเอียด รดน้ำให้ฝาชุ่มกันดินเหนียวแห้ง
6. ทดสอบความรั่วของบ่อใช้หลักการเติมมูลสัตว์ผสมน้ำ(1:1)หมักไว้ 7วัน จะเกิดแก๊สจากบ่อล้น
7. ต่อท่อนำแก๊สจากวางฝาบ่อต่อสายยางเข้าเตาแก๊สหุงต้มใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อเข้าท่อไอดีของเครื่องยนต์ดีเซลใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง

หลักปฏิบัติและดูแลบ่อแก๊สชีวภาพ
1. ต้องเติมมูลสัตว์ทุกวัน วันละ 1 ปีป
2. ห้ามใส่หรือทิ้งสารเคมี เช่นผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตาย

ข้อดีของการมีบ่อแก๊สชีวภาพ
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
2. ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
3. มูลที่ได้จากบ่อล้น เป็นปุ๋ยคุณภาพดี ผ่านการหมักทำลายการงอกของเมล็ดพืชและไข่แมลงเชื้อโรคต่าง ๆ ไม่มีกลิ่นเหม็น
4. แก๊สที่ได้ยังสามารถประยุกต์ใช้กับเครื่องยนต์รอบต่ำและพลังงานเชื้อเพลิงในตะเกียงเจ้าพายุได้ด้วย

(นางสมบัติ สุวนานนท์ - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ)
คุณเอื้อ : นายดุสิต  เพชระบูรณิน - เกษตรอำเภอกงไกรลาศ
คุณประสาน : นางสมบัติ  สุวนานนท์ - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
คุณกิจ นายสมกียรติ   จันโท
             นางพิกุล   สุวนานนท์ - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
คุณอำนวย : นางสมบัติ  สุวนานนท์ - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
คุณลิขิต : นางสมบัติ  สุวนานนท์ - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานเกษตรอำเภอกงไกรลาศ
เบอร์โทรศัพท์: 055-691-247 เบอร์แฟกซ์: ---
หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกร่าง กงไกรลาศ สุโขทัย ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay