การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
ของนางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร หมู่ 9 ตำบลป่าแฝก
กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ของเกษตรกร เก้าบ้านเสาหิน โดยมีเกษตรกรนำทีมโดย นางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร รวมกลุ่มเกษตรกรที่สนใจ เพาะเห็ดฟางในตะกร้าซึ่ง กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวได้ร่วมถอดประสบการณ์กับ นายอายุมงคล แสนปัญญา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สาธิตขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าให้แก่ เกษตรกรผู้สนใจ ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้
1. การนำเข้าสู่บทเรียน
นายอายุมงคล แสนปัญญา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นำเข้าสู่บทเรียน ระบุว่า ตำบลป่าแฝกมีกลุ่มเกษตรกรที่สนใจในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เพื่อเป็นอาชีพเสริมหลังจากที่ว่างเว้นจากการทำนา เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน
2. การถอดประสบการณ์ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ของ นางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร
ขั้นตอนการหาวัสดุอุปกรณ์
ขั้นตอนการเตรียม
ขั้นตอนการทำหลังจากที่จัดเตรียมทุกอย่างให้เข้าที่เข้าทางแล้วก็เริ่มการทำได้เลยโดยเริ่มจาก
(ชั้นที่ 1.)
1.1) ใส่ฟางที่แช่น้ำไว้ลงในตะกร้า แล้วกดลงให้แน่ กะระยะ กดสอง ตาตะกร้า
1.2) จากนั้นนำมูลวัวที่พรมน้ำชีวะภาพไว้มาโรยรอบๆ โดยไม่โรยตรงกลาง ให้ กะสามขยุ้มมือพอประมาณไม่มาก หรือไม่น้อยเกินไป
1.3) ต่อไปใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 2 ช้อนแกงโดยโรยใส่รอบๆ
1.4) จากนั้นโรย กากข้าวโพดลงในตะกร้า ประมาณ สามขยุ้มมือโดยประมาณ หรือเท่ากันกับมูลวัว ให้โรยรอบๆ เหมือนกัน จากนั้นก็ กดแน่นๆ
1.5) จากนั้นก็โรยผักตบที่เตรียมไว้ลงในตะกร้า
1.6) จากนั้นใส่เชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ โดยโรยรอบๆ เหมือนกันกับการโรยข้าวโพด(ดังที่แสดงในภาพ)
(ชั้นที่ 2.)
1.7) ให้ทำซ้ำขั้นตอนที่ได้กล่าวมาข้างต้น 1.1-1.6 ทุกขั้นตอน
(ชั้นที่ 3.)
1.8) ให้ทำซ้ำขั้นตอนที่ได้กล่าวมาข้างต้น 1.1-1.6 ทุกขั้นตอนแต่ การโรยจะ ต้องโรยตรงกลางด้วยทั้ง 6 ขั้นตอน ในชั้นที่ 3 และ ชั้นสุดท้าย ใส่ฟางอีกรอบหนึ่ง
ขั้นตอนการ รดน้ำเตรียมเข้าที่เก็บ ดูแลรักษา
1. หลังจากที่บันจุวัตถุดิบลงตะกร้าตามขั้นตอนจนเสร็จแล้ว ต่อไปเป็นการรดน้ำเตรียมเก็บเข้าที่ หรือเก็บเข้ากระโจม
วิธีรดน้ำ ให้รดข้างบนพอให้ชุ่ม เสร็จแล้วก็รดด้านข้างก็เป็นการเสร็จ และเก็บเข้าที่เก็บดุแลรักษาต่อไป (ดังที่แสดงในภาพ)
ขั้นตอนการดูแลรักษา
1.หลังจากที่เก็บเข้า ที่เก็บรักษา ได้ครบ 3 วัน ขั้นตอบต่อก็เป็นขั้นตอนการตัดใย
2. เมื่อตัดใยในวันที่สามเสร็จสิ้นลง ก็เริ่มทำการรดน้ำที่พื้นรอบๆ เพื่อระบายความร้อนทุกวันจนถึงวันเก็บผลผลิต แต่วันไหนอากาศเย็นก็ไม่ต้องทำการรดน้ำ (วิธี สังเกตุ ดูว่าอากาศร้อนหรือไม่นั้นให้ดูที่เส้นใยที่เกิดขึ้นมาถ้าเส้นใยออกเยอะมีสีขาวก็แสดงว่าอากาศร้อน แต่ถ้าใยน้อยอากาศเย็นเกินไป แต่ถ้าใยออกพอดีสวยแสดงว่าอากาศหรืออุณหภูมิเหมาะสม)
3. หลังจากทำการดูแลรักษานับจากวันที่ทำไป 9 วันก็เก็บออกจำหน่ายหรือเก็บไปประกอบอาหารได้ (ถ้าทำครั้งหนึ่งก็จะเก็บผลผลิตได้ 2 รุ่น หรือไม่เกิน 2 รุ่นเท่านั้น
คุณกิจ : นางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร
คุณอำนวย : นายดุสิต เพชระบูรณิน - เกษตรอำเภอกงไกรลาศ
คุณประสาน : นายอายุมงคล แสนปัญญา - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
คุณลิขิต : นายอายุมงคล แสนปัญญา - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ของเกษตรกร เก้าบ้านเสาหิน โดยมีเกษตรกรนำทีมโดย นางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร รวมกลุ่มเกษตรกรที่สนใจ เพาะเห็ดฟางในตะกร้าซึ่ง กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวได้ร่วมถอดประสบการณ์กับ นายอายุมงคล แสนปัญญา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สาธิตขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าให้แก่ เกษตรกรผู้สนใจ ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้
1. การนำเข้าสู่บทเรียน
นายอายุมงคล แสนปัญญา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นำเข้าสู่บทเรียน ระบุว่า ตำบลป่าแฝกมีกลุ่มเกษตรกรที่สนใจในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เพื่อเป็นอาชีพเสริมหลังจากที่ว่างเว้นจากการทำนา เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน
2. การถอดประสบการณ์ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ของ นางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร
ขั้นตอนการหาวัสดุอุปกรณ์
1. ฟางข้าว หรือตอซัง ดีที่สุดฟางเก่าๆ จะมีแร่ธาตุมาก ( ฟางเก่าจะดีกว่าฟางใหม่ )
2. น้ำปุ๋ยชีวะภาพ และ กากน้ำตาล
3. ปุ๋ยอินทรีย์ และมูลวัว (ถ้ามูลวัวนมดีที่สุด)
4. กากข้าวโพด (หรือรำอ่อนใช้แทนก็ได้)ดีที่สุดกากข้าวโพด เพราะจะมีแร่ธาตุมาก
5. เชื้อเห็ดฟาง(จะใช้ 1 ก้อนต่อ 2 ตะกร้า ถ้าทำชำนาญแล้วก็เพิ่มเป็น 3 ตะกร้าก็ได้ เพื่อลดต้นทุนลง)
6. แป้งข้าวเหนียว หรือแป้งสาลี (เพื่อนำมาโรยผสมกับเชื้อเห็ด 2 ช้อนแกง พูน ต่อ เชื้อเห็ด 1 ก้อน) แต่ แป้งข้าวเหนียวจะดีกว่า
7. แผ่นพลาสติกใส (เพื่อใช้คลุม หรือ ทำเป็นกระโจม แล้วคลุมพลาสติกก็ได้
8. ผักตบ (โดยล้างให้สะอาดไม่ให้มีขี้โคลนเลือกที่สมบูรณ์ที่สุด แยก กาบก้านและใบที่ไม่สมบูรณ์หรือที่เน่าเสียออกทิ้ง)
9. เชือกฟาง (เพื่อใช้มัดกระโจม และ แผ่นพลาสติก)
10. ไม้ไผ่ (ไม้ต้องผ่าเป็นซี่ใหญ่หน่อยเพื่อทำกระโจม หรือทำหลักกระโจมด้วย และไม้ไผ่ที่เป็นท่อน หรือไม้กระดานใช้แทนก็ได้ เพื่อใช้ทำที่วางตะกร้าในกระโจม หรือสถานที่ ที่เราจะเก็บตะกร้าเห็ดไว้นั่นเอง)
11. ตะกร้าพลาสติก (เพื่อที่จะใช้เป็นภาชนะบันจุวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบ)
12. เขียง และมีดบางเลือกที่คมๆ หน่อย (เพื่อที่จะใช้ในการหั่นผักตบ)
13. กะละมัง หรือ ถังขนาดใหญ่พอสมควร (เพื่อใช้เป็นภาชนะบันจุ น้ำ กับ กากน้ำตาล และ น้ำปุ๋ยชีวภาพ ที่ได้ทำการผสมแล้ว เพื่อใช้งานต่อไป)
ขั้นตอนการเตรียม
1. เตรียมสถานที่ ที่เหมาะสมกับการเพาะเห็ดฟาง และน้ำเปล่าให้พอที่จะใช้ในงาน
2. เตรียมไม้เพื่อจัดทำที่เก็บตะกร้าเห็ด หรือ กระโจม (และเริ่มการทำกระโจม หรือที่เก็บเห็ดฟาง)
3. นำน้ำปุ๋ยชีวะภาพและกากน้ำตาลลงผสมกับน้ำที่ได้เตรียมไว้พอประมาณ
4. เตรียมฟางที่จะใช้งานลงแช่น้ำชีวะภาพ 1 ชั่วโมง หรือ 1 คืน ก็ได้ โดยดุว่าฟางที่นำมาใช้ มีสารเคมีมากหรือน้อย(ถ้าสารเคมีน้อยก็ แช่ 1 ชั่วโมง ถ้าสารเคมีมากก็ แช่ 1 คืน)
5. เตรียมมูลวัวที่นำมาใช้งาน มารดน้ำพอให้ชุ่มไม่เปียกมาก และคลุกให้เข้ากัน
6. ให้นำกากข้าวโพดที่ได้จัดเตรียมไว้ มาพรมน้ำเอาพอให้ชุมไม่เปียกมาก
7. ให้นำผักตบที่เตรียมไว้มาหั่นเป็นแว่นหนาขนาดยาวประมาณครึ่งนิ้ว
8. ให้นำเชื้อเห็ดมาขยี้เบาๆ พอให้เป็นชิ้นเล็กๆหน่อย แล้วโรยแป้งลงผสมคลุกให้เข้ากันวิธีตวงก็ใช้ช้อนแกงตวง 2 ช้อนพูน ต่อ เชื้อเห็ด 1 ก้อน(จากนั้นแบ่งเชื้อเห็ด 1 ก้อน เป็น 6 กองเล็ก หรือ 9 กองเมื่อชำนาญแล้ว เพื่อลดต้นทุนลง เพราะ 1 กองเล็กได้ 1 ชั้น 1 ตะกร้ามี 3 ชั้น 9 กองเล็กก็จะได้สามตะกร้า จากเดิมได้ 2 ตะกร้า ก็เป็น 3 ตะกร้า ฉะนั้นก็เป็นการลดต้นทุนไปในตัวด้วย)
ขั้นตอนการทำหลังจากที่จัดเตรียมทุกอย่างให้เข้าที่เข้าทางแล้วก็เริ่มการทำได้เลยโดยเริ่มจาก
(ชั้นที่ 1.)
1.1) ใส่ฟางที่แช่น้ำไว้ลงในตะกร้า แล้วกดลงให้แน่ กะระยะ กดสอง ตาตะกร้า
1.2) จากนั้นนำมูลวัวที่พรมน้ำชีวะภาพไว้มาโรยรอบๆ โดยไม่โรยตรงกลาง ให้ กะสามขยุ้มมือพอประมาณไม่มาก หรือไม่น้อยเกินไป
1.3) ต่อไปใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 2 ช้อนแกงโดยโรยใส่รอบๆ
1.4) จากนั้นโรย กากข้าวโพดลงในตะกร้า ประมาณ สามขยุ้มมือโดยประมาณ หรือเท่ากันกับมูลวัว ให้โรยรอบๆ เหมือนกัน จากนั้นก็ กดแน่นๆ
1.5) จากนั้นก็โรยผักตบที่เตรียมไว้ลงในตะกร้า
1.6) จากนั้นใส่เชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ โดยโรยรอบๆ เหมือนกันกับการโรยข้าวโพด(ดังที่แสดงในภาพ)
(ชั้นที่ 2.)
1.7) ให้ทำซ้ำขั้นตอนที่ได้กล่าวมาข้างต้น 1.1-1.6 ทุกขั้นตอน
(ชั้นที่ 3.)
1.8) ให้ทำซ้ำขั้นตอนที่ได้กล่าวมาข้างต้น 1.1-1.6 ทุกขั้นตอนแต่ การโรยจะ ต้องโรยตรงกลางด้วยทั้ง 6 ขั้นตอน ในชั้นที่ 3 และ ชั้นสุดท้าย ใส่ฟางอีกรอบหนึ่ง
ขั้นตอนการ รดน้ำเตรียมเข้าที่เก็บ ดูแลรักษา
1. หลังจากที่บันจุวัตถุดิบลงตะกร้าตามขั้นตอนจนเสร็จแล้ว ต่อไปเป็นการรดน้ำเตรียมเก็บเข้าที่ หรือเก็บเข้ากระโจม
วิธีรดน้ำ ให้รดข้างบนพอให้ชุ่ม เสร็จแล้วก็รดด้านข้างก็เป็นการเสร็จ และเก็บเข้าที่เก็บดุแลรักษาต่อไป (ดังที่แสดงในภาพ)
ขั้นตอนการดูแลรักษา
1.หลังจากที่เก็บเข้า ที่เก็บรักษา ได้ครบ 3 วัน ขั้นตอบต่อก็เป็นขั้นตอนการตัดใย
2. เมื่อตัดใยในวันที่สามเสร็จสิ้นลง ก็เริ่มทำการรดน้ำที่พื้นรอบๆ เพื่อระบายความร้อนทุกวันจนถึงวันเก็บผลผลิต แต่วันไหนอากาศเย็นก็ไม่ต้องทำการรดน้ำ (วิธี สังเกตุ ดูว่าอากาศร้อนหรือไม่นั้นให้ดูที่เส้นใยที่เกิดขึ้นมาถ้าเส้นใยออกเยอะมีสีขาวก็แสดงว่าอากาศร้อน แต่ถ้าใยน้อยอากาศเย็นเกินไป แต่ถ้าใยออกพอดีสวยแสดงว่าอากาศหรืออุณหภูมิเหมาะสม)
3. หลังจากทำการดูแลรักษานับจากวันที่ทำไป 9 วันก็เก็บออกจำหน่ายหรือเก็บไปประกอบอาหารได้ (ถ้าทำครั้งหนึ่งก็จะเก็บผลผลิตได้ 2 รุ่น หรือไม่เกิน 2 รุ่นเท่านั้น
คุณกิจ : นางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร
คุณอำนวย : นายดุสิต เพชระบูรณิน - เกษตรอำเภอกงไกรลาศ
คุณประสาน : นายอายุมงคล แสนปัญญา - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
คุณลิขิต : นายอายุมงคล แสนปัญญา - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง